เมนู

มีรูปขันธ์เป็นต้น ด้วยฉันทราคะ เหตุนั้นจึงชื่อว่าสัตตะ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย
ท่านเรียกว่าสัตตะ แต่เพราะศัพท์ขยายความ โวหารนี้ จึงใช้แม้ในท่านผู้
ปราศจากราคะแล้วเท่านั้น.
บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ความว่า กิเลสดุจธุลีคือราคะ โทสะ และ
โมหะ ในดวงตาที่สำเร็จด้วยปัญญาของสัตว์เหล่านั้น มีเล็กน้อย และสัตว์
เหล่านั้น ก็มีสภาพอย่างนั้น เหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน
ดวงตาน้อย หรือว่า กิเลสดุจธุลีมีราคะเป็นต้นของสัตว์เหล่าใดน้อย สัตว์
เหล่านั้น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อย. พึงเห็นความในข้อนี้อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านั้น
ชื่อว่า อปฺปรชกฺขชาติกา เพราะมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นสภาพ แก่
สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นสภาพเหล่านั้น พึงทำการเปลี่ยนวิภัตติว่า
สตฺตานํ แล้วทำการเชื่อมกับคำนี้ว่า เทเสหิ ธมฺมํ ก็เห็นความได้. คำว่า เทเสหิ
นี้เป็นคำวอนขอ. อธิบายว่าโปรดแสดง กล่าว สอน. ในคำว่า ธมฺมํ นี้

ธัมม-
ศัพท์

นี้ ใช้กันในอรรถทั้งหลายมีปริยัตติ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ
สุญญตา บุญ อาบัติ เญยยะ และจตุสัจธรรมเป็นต้น. จริงอย่างนั้น ธัมมศัพท์
ใช้ในอรรถว่า ปริยัตติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อิธ ภิกฺขุ ธมฺมํ ปริยาปุณาติ
สุตฺตํ เคยฺยํ เวยฺยากรณํ ฯ เป ฯ เวทลฺลํ ภิกษุในพระศาสนานี้ย่อมเรียน
ธรรมคือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ ฯลฯ เวทัลละ ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า ปัญญา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า
ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา วานรินฺท ยถา ตว
สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค ทิฏฺฐํ โส อติวตฺตติ.